::: วิสัยทัศน์และพันธกิจ โรงพยาบาลท่าวังผา :::
วิสัยทัศน์
" โรงพยาบาลท่าวังผา โรงพยาบาลคุณภาพ ที่ชุมชนไว้วางใจ "
พันธกิจ
1. พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพทุกมิติ ทั้งส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู
2. พัฒนาระบบบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีความสุขแปดประการ
4. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
5. สนับสนุนภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ
เป้าหมาย
ประชาชน |
มีสุขภาพดี ได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ |
เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ |
มีความสุขแปดประการ |
องค์กร | มีระบบการบริหารจัดการที่ดี |
ชุมชน ภาคีเครือข่ายสุขภาพ | มีส่วนร่วมในการจัดการดูแลสุขภาพ |
ค่านิยม
ได้กำหนดค่านิยมองค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ
ถึงวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล
“โรงพยาบาลแห่งรอยยิ้ม พัฒนาทีม มีวินัย ใจอาทร”
พัฒนา | = | พัฒนาการเรียนรู้ |
ทีม | = | มีการทำงานเป็นทีม |
มีวินัย | = | รับผิดชอบต่อหน้าที่ ตรงต่อเวลา |
ใจอาทร | = | บริการด้วยใจ และเอื้ออาทรทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ |
อัตลักษณ์ รพ. คุณธรรม
“ชื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย ใจอาทร”
ความเชื่ยวชาญองค์กร : การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
เข็มมุ่งองค์กร
1. การบริการจัดการรายโรค กลุ่มโรค Stroke
2. การเพิ่มระดับความฟึงพอใจของผู้รับบริการ
โรคที่โรงพยาบาลให้ความสำคัญ
1. COPD 6. TB
2. Stroke 7. ไข้เลือดออก
3. STEMI 8. อุบัติเหตุจราจร
4. Sepsis 9. ฆ่าตัวตาย
5. NCD (HT/DM/CKD)
ประเด็นยุทธศาสตร์หลัก
1. พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุม 4 มิติ
ด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและประชาชน
2. พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนบริการสุขภาพ
*** ขับเคลื่อนตามนโยบาย 4E กระทรวงสาธารณสุข ***
::: ระบบการปรับปรุง performance ขององค์กร :::
ระบบการพัฒนาคุณภาพ
- โรงพยาบาล พัฒนาคุณภาพ โดยใช้ระบบกระบวนการ HA ซึ่งโรงพยาบาลได้รับการรับรองเมื่อ 3 สิงหาคม 2555 ( อายุ 2 ปี )
- โรงพยาบาลได้เข้าร่วมโครงการ Spiritual HA ซึ่งทำให้ได้พัฒนาบุคลากรในด้านการส่งเสริมมิติจิตตปัญญาร่วมกับการบริการรักษาพยาบาล และได้นำมาอบรมต่อในหน่วยงานเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่บุคลากร ในเรื่อง Salutogenesis และ Narrative Medicine
- โรงพยาบาลได้เข้าร่วมโครงการ SHA CUP และ DHS ทำให้เพิ่มเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นระบบเพิ่มมากขึ้น
- โรงพยาบาลได้เข้าร่วมอบรม การสร้างสุขในที่ทำงาน และได้จัดตั้งทีมสร้างสุขและจัดกิจกรรมสร้างสุขในโรงพยาบาล ตามเข็มมุ่งของโรงพยาบาลที่มุ่งส่งเสริมให้บุคลากรมีความสุขแปดประการ
- ประชุมด้านอาชีวอนามัยเพื่อค้นหาความเสี่ยงในหน่วยงาน
- พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการจัดการความรู้ ในโรงพยาบาล โดยได้ไปศึกษาดูงาน ที่ม.ขอนแก่นและได้นำมาพัฒนา ประชุมและแลกเปลี่ยนความรู้ โดยหัวข้อในจัดการความรู้จะเป็นเรื่องการให้บริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ การจัดบริการที่ปลอดภัย การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง การสร้างสุขในที่ทำงาน และได้มีการรวบรวมเรื่องเล่า นำไปจัดบอร์ดกำแพงแห่งความรัก และจัดทำพิมพ์เป็นรูปเล่ม โดยได้ทำ 2 ครั้ง และนำไปไว้ที่ห้องพิเศษในตึกผู้ป่วยใน ในห้องทุกหน่วยงาน และเผยแพร่แก่โรงพยาบาลชุมชนอื่นๆ
- ดำเนินโครงการวิจัยจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ มีผลงานวิจัยดีเด่นระดับประเทศและจังหวัด จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการประเมินผล
- การประเมินผลขององค์กร มีการกำหนดตัวชี้วัดระดับโรงพยาบาล ระดับทีมคร่อมสายงาน ระดับหน่วยงาน มีการนิเทศติดตามประเมินผลปีละ2ครั้ง และให้มีการสรุปผลงานทุกหน่วยงาน และนำเสนอผลงานประจำปี
- โรงพยาบาลได้กำหนดให้มีการประเมินผลงานการปฏิบัติราชการของบุคลากร ปีละ 2 ครั้ง โดยได้มีการกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผลงานระดับบุคคล ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงาน ยุทธศาสตร์ของรพ.และของจังหวัด และได้มีการประเมินในส่วนของสมรรถนะการทำงานที่แท้จริงเพิ่มเติม และนำไปทำแผนพัฒนาบุคลากร
กระบวนการเรียนรู้ระดับองค์กร
- มีระบบการค้นหา Learning Need และสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับได้เพิ่มพูนทักษะ ความรู้ ทั้งในการอบรมนอกจังหวัด ในจังหวัด และได้จัดวิชาการในรพ.เอง โดยเชิญวิทยากรจากภายนอก ในรอบปีที่ผ่านมา
- ในการพัฒนาคุณภาพ ได้สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานใช้หลัก 3P-PDSA ในการทำงาน
- ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีสติและสมาธิในการทำงาน โดยในรอบปีที่ผ่านมาได้ เชิญวิทยากรจากภายนอก มาบรรยายเรื่องการสร้างสติในการทำงาน
- สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานได้ทำ R2R อย่างน้อย 1 เรื่องต่อหน่วยงาน
กระบวนการสร้างนวตกรรม
ได้สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานได้มีการสร้างนวตกรรมใหม่ ๆ ในการทำงาน และได้จัดเวทีนำเสนอผลงานการพัฒนาคุณภาพและนวตกรรม ปีละครั้ง ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว 4 ครั้ง และได้ให้โอกาสแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับโดยเฉพาะในกลุ่มลูกจ้าง หัวหน้าหน่วยงานได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ผลจากการประกวดได้ส่งไปนำเสนอระดับเขต และระดับประเทศ
ค่านิยม MOPH